[สาระ รอบรถ]
อาการแบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมนั้น ผมเชื่อว่าหลายๆคนที่มีรถยนต์คงเคยประสบปัญหาแบบนี้มาแล้วด้วยกันทั้งนั้น ปัญหาก็คือเมือเราสตาร์ทรถไม่ติด สตาร์ทแล้วเงียบไม่มีเสียงอะไร หรือ สตาร์ทแล้วดั่งแกร๊กๆ อะไรประมาณนี้ เรามักไม่แน่ใจว่าเป็นที่แบตเตอรี่หรือเป็นที่อย่างอื่นหรือปล่าว กลัวว่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ไปแล้วจะเป็นเหมือนเดิม เพราะอาการรถสตาร์ทไม่ติดมีสาเหตุมาจากอุปกรณ์หลายอย่างเช่น แบตเตอรี่เสือม ไดสตาร์ทเสือม ปั๊มติ๊ก (ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง) ไดชาร์จ เป็นต้น แต่บางคนประสบการณ์เยอะบวกกับเป็นคนช่างสังเกต ก็อาจจะพอวิเคราะห์ได้ว่าอาการสตาร์ทไม่ติดแบบนี้จะน่าเกิดจากอะไร ดูจากอายุของแบตเตอรี่ประกอบการพิจารณา เป็นต้น
คราวนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการทดสอบอาการรถสตาร์ทไม่ติด แบบคร่าวๆเพื่อที่เราจะได้แยกแยะอาการและเพื่อชี้เป้าไปยังปัญหาได้ใกล้เคียงที่สุด ในที่นี้จะเป็นการทดสอบแบตเตอรี่นะครับ มาเริ่มกันเลยนะครับ หลังจากที่เราได้ทำการสตาร์ทรถแล้ว แต่เครื่องไม่ติดให้ทำตามขั้นตอนดั่งนี้
1. เปิดฝากระโปรงขึ้นมา จากนั้นหาผ้าหรือถุงมือมาสวมให้เรียบร้อย ให้คุณลองใช้มือหมุนหรือขยับขั่วแบตเตอรี่ทั้ง 2 ข้างดูว่าแน่นดีหรือปล่าว ไม่ต้องออกแรงหมุนเยอะนะครับ เอาพอประมาณ และสังเกตดูว่ามีคราบขี้เกลือเกาะอยู่ที่ขั่วแบตเตอรี่ทั้ง 2 ข้างหรือไม่ ถ้ามีก็ให้คุณต้มน้ำร้อนมาราดที่ขั่วแบตทั้ง 2 ข้างแล้วทาด้วยจาระบี หรือถ้าขั่วแบตเตอรี่หลวมก็ทำการขันให้แน่นซะ จากนั้นลองสตาร์ทรถดูใหม่ ถ้าติดก็แสดงว่าแบตเตอรี่ของเรายังใช้ได้อยู่ อาจเป็นเพราะขั่วแบตเตอรี่หลวมหรือขี้เกลือเกาะมากเกินไปทำให้กระแสไฟเดินไม่สะดวก แต่ถ้าไม่ติดก็ให้ทำตามขั้นตอนต่อไป
2. ทำการเปิดไฟหน้า ถ้าเป็นตอนกลางคืนให้สังเกตุความสว่างของไฟฟ้าว่าลดลงจากปกติหรือไม่ ถ้าความสว่างของไฟหน้าลดลง หรือลดลงอย่างเห็นได้ชัด แสดงว่าอาการรถสตาร์ทไม่ติดน่าจะมากจากแบตเตอรี่เสือม แต่ถ้าความสว่างยังปกติดี ให้ทำตามขั้นตอนต่อไป (ยังเปิดไฟหน้าอยู่นะครับ)
3. เปิดกุญแจ on เปิดไปฉุกเฉิน เปิดแอร์เบอร์แรงสุด เปิดวิทยุ เหยียบเบรค เข้าเกียร์ถอย (ไม่ต้องสตาร์ทเครื่องยนต์) และเปิดกระจกไฟฟ้าลงและขึ้นทั้ง 2 ข้าง พร้อมๆกัน (กระจกคู่หน้า) จากนั้นลองสังเกตดูว่ากระจกไฟฟ้าของเราขึ้นและลงหนืดหรือปล่าว หรือชึ้นลงเป็นปกติก็ให้ตัดประเด็นเรื่องแบตเตอรี่เสื่อมออกไปได้เลย แต่ถ้ากระจกขึ้นลงหนืดก็แปลว่าอาการที่เราสตาร์ทรถไม่ติดมาจากแบตเตอรี่เสื่อมนั่นเอง